043-811-128 ต่อ 6120

62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000

วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

การอ้างอิงท้ายบทความ

7.2 การอ้างอิงท้ายบทความ

                การอ้างอิงท้ายบทความ  เป็นการนำรายการอ้างอิงในเนื้อหา มารวบรวมไว้ในส่วนท้ายของบทความภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง (References) โดยจัดเรียงตัวเลขตามลำดับ 1, 2, 3, 4, 5,…… ซึ่งตัวเลขต้องสอดคล้องกับลำดับตัวเลขของการอ้างอิงในเนื้อหาและข้อมูลที่นำมาเขียน  ในการเขียนเอกสารอ้างอิงคือ ต้องเขียนโดยใช้หลักการเขียนเดียวกันตลอดทั้งบทความและต้องใส่เครื่องหมายวรรคตอน การเว้นวรรค (space) ที่ถูกต้องโดยเอกสารอ้างอิงจะแตกต่างกันตามประเภทเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น หนังสือ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ เอกสารประกอบการประชุม หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารจากอินเทอร์เน็ต เป็นต้น  

          7.2.1 หลักการเขียน

                   7.2.1.1 ลักษณะการพิมพ์ไม่ใช้ตัวเข้ม ตัวเอน หรือขีดเส้นใต้

                   7.2.1.2 กรณีที่มีผู้แต่งมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก และตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นระหว่างชื่อและเว้น 1 วรรค หลังชื่อผู้แต่งชื่อที่ 6  สำหรับภาษาไทยให้ใส่คำว่า “และคณะ.”  ภาษาอังกฤษ ใส่คำว่า “et al.” และตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . )

                   7.2.1.3 ชื่อเรื่องจะใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นอักษรตัวแรก และชื่อเฉพาะ

                   7.2.1.4 ชื่อวารสารในการอ้างอิง ใช้เป็นชื่อย่อตามรูปแบบของ U.S. National Library of Medicine ที่ตีพิมพ์ใน Index Medicus ทุกปี หรือในเว็บไซต์ http://www.nlm.nih.gov/tsd/serials/liji.html หากเป็นวารสารชื่อสั้นๆ คำเดียว ไม่ต้องย่อชื่อวารสาร

                   7.2.1.5 ระหว่างชื่อย่อวารสารกับปีที่พิมพ์ไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนใดๆ คั่นอยู่

                   7.2.1.6 เครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้แสดง ประกอบด้วย

                       1) เครื่องหมายจุลภาคหรือ comma ( , ) ใช้คั่นระหว่างชื่อผู้เขียน

                       2) เครื่องหมายมหัพภาคหรือ full stop ( . ) ใช้หลังคําย่อชื่อผู้เขียนคนสุดท้าย หรือ หลังคําว่า et al หลังชื่อเรื่อง และท้ายสุดของประโยค

                       3) เครื่องหมายอัฒภาคหรือ semi-colon ( ; ) สําหรับวารสารใช้คั่นระหว่างปี ค.ศ. ที่พิมพ์กับ volume ของวารสารโดยไม่มีช่องว่างคั่นหน้าหรือหลังเครื่องหมาย สําหรับหนังสือ ใช้คั่นระหว่างแหล่งที่พิมพ์กับปีที่พิมพ์ โดยมีช่องว่างคั่นอยู่หลังหมายเลข

                       4) เครื่องหมายทวิภาคหรือ colon ( : ) สําหรับวารสารใช้คั่นระหว่าง volume กับเลขหน้า โดยไม่มีช่องว่างคั่นหน้าหรือหลังเครื่องหมาย สําหรับหนังสือ ใช้คั่นระหว่างเมืองที่พิมพ์กับแหล่งที่พิมพ์

                       5) เครื่องหมายยัติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีด หรือ hyphen ( – ) ใช้คั่นระหว่างเลขหน้าแรกกับหน้าสุดท้ายของเรื่องที่นํามาอ้างอิง และไม่มีช่องว่างหน้าหรือหลังเครื่องหมาย

                    7.2.1.7 หมายเลขหน้า ให้ใช้ตัวเต็มสําหรับหน้าแรก และตัวย่อสําหรับหน้าสุดท้าย เช่น 152-159 เขียนเป็น 152-9 หรือ 152-168 เขียนเป็น 152-68

7.2.2 ประเภทเอกสารที่นำมาอ้างอิง

                   7.2.2.1 บทความจากวารสารวิชาการมาตรฐาน (Standard journal article) ส่วนสําคัญที่ต้องลงในรายการเอกสารอ้างอิง คือ – ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors) กรณีเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อผู้นิพนธ์ใส่นามสกุลก่อน เว้น 1 วรรค ตามด้วยชื่อย่อ ของชื่อต้นและชื่อกลาง (ถ้ามี) ถ้ามีผู้นิพนธ์คนเดียวให้จบด้วยมหัพภาค ( . ) ถ้ามีมากกว่า 1 คนให้ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) แล้วเว้น 1 วรรค แล้วเขียนชื่อผู้นิพนธ์คนต่อไป จนเสร็จแล้วจบด้วยด้วยมหัพภาค ( . ) กรณีเป็นภาษาไทย ให้ใช้รูปแบบและเครื่องหมายวรรคตอนลักษณะเดียวกันแต่ใช้ ชื่อ เว้น 1 วรรค ตามด้วยนามสกุล / ชื่อบทความ (Title) / ชื่อวารสาร (Title of journal) / ปีที่ตีพิมพ์(Year) / ปีที่ของวารสาร (Volume) / ฉบับที่ (Issue number) / หน้า (Pages)

                              1) วารสาร

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./ชื่อเรื่อง./ชื่อวารสาร./ปีที่พิมพ์;/ปีที่ของวารสาร(ฉบับที่พิมพ์):/เลขหน้า.

 

  1. อริศรา อรรถเวทยวรวุฒิ, สุชานนท์ เสมแก้ว, สิชล ฮวดรักษาสัตย์, ฐาปน จงรักษ์, สุดาทิพย์ จันทร, จิรวรรณ

   อภิรักษากร และคณะ. การโคลนและการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนไซแลนเนสจากแบคทีเรีย

   น้ำพุร้อน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 2559; 8(2): 166-79.

  1. Yoo D, Kim C, Yoo B. Steady and dynamic shear rheology of rice starch-galactomannan

   mixtures. Starch. 2005; 57(7): 310–8.

  1. Hagenimana A, Pu P, Ding X. Study on thermal and rheological properties of native rice

   starches and their corresponding mixtures.  Food Res Int. 2005; 38(3): 257-66.

  1. Panlasigui LN, Thompson LU. Blood glucose lowering effects of brown rice in normal and

   diabetic subjects. Int J Food Sci Nutr. 2006; 57(3-4):151–8.

  1. Hanna JN, McBride WJ, Brookes DL, Shield J, Taylor CT, Smith IL, et al. Hendra virus infection

   in veterinarian. Med J Aust. 2006 Nov 20; 185(10):562‐64.

 

                              2) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal

                                ก) ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (Digital Object Identifier : DOI)

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./ชื่อเรื่อง./ชื่อวารสาร./ปีที่พิมพ์;/ปีที่ของวารสาร(ฉบับที่พิมพ์):/เลขหน้า. doi:10.XXX/XXXXX.XX.

 

  1. Palsson G, Hardardottir KE. For whom the cell tolls: debates about biomedicine (1). Curr Anthropol. 2002;43(2):271+. doi:10.1086/338302.
  2. Abalos E, Carroli G, Mackey ME. The tools and techniques of evidence-based medicine. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol. 2005;19(1):15-26. doi:10.1016/j.bpogyn.2004.10.008.

                                ข) ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (No DOI available)

 

  1. Allen C, Crake D, Wilson H, Buchholz A. Polycystic ovary syndrome and a low glycemic index diet. Can J Diet Pract Res [Internet]. 2005 [cited 2005 Jun 30]; Summer:3. Available from: http://il.proquest.com.

 

                    7.2.2.2 หนังสือ ตำรา หรือรายงาน

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./ชื่อหนังสือ./ครั้งที่พิมพ์./เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์./จำนวนหน้า.

                   1) หนังสือหรือตำราที่ผู้แต่งเขียนทั้งเล่ม

  1. เพ็ญขวัญ ชมปรีดา. การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสและการยอมรับของผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 2.

   กรุงเทพฯ: บริษัท วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์ จำกัด; 2556. 339.

  1. Sikorski ZE. Chemical and functional properties of food components. 2nd ed. Boca Raton:

   CRC Press LLC; 2002. 367.

  1. Goering RV, Dockrell HM, Wakelin D, Zuckerman M, Chiodini PL, Roitt IM, et al. Mims’medical

   microbiology. 4th ed. Philadelphia, PA: Mosby Elsevier; 2008.

 

                             2) บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./ชื่อเรื่อง./ใน: ชื่อบรรณาธิการ(บรรณาธิการ)./ชื่อหนังสือ./ครั้งที่พิมพ์./เมืองที่พิมพ์:/ สำนักพิมพ์;/ปีที่พิมพ์./เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

  1. มาลัยวรรณ อารยะสกุล, วรรณวิบูลย์ กาญจนกุญชร. เนื้อสัตว์แลผลิตภัณฑ์. ใน: คณาจารย์ภาควิชา

   วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3.

   กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2542. น. 248-94.

  1. ไพศาล วุฒิจำนงค์. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลทางการเกษตร. ใน: รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต.

   การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;

  1. 2550. หน้า 175-91.
  2. Williams PA, Phillips GO. Introduction to food hydrocolloids. In: Phillips GO, Williams PA,

   editors. Handbook of hydrocolloids. Cambridge: Woodhead Publishing Limited; 2000.

  1. 1-19.
  2. Bennett GL, Horuk R. Iodination of chemokines for use in receptor binding analysis. In:

   Horuk R, Chemokine receptors. New York (NY): Academic Press; 1997. p. 134‐48.

   (Methods in Enzymology; vol 288).

 

                   3) รายงานการประชุม สัมมนา (Proceeding of Meetings and Symposiums, Conference Paper)

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./ชื่อเรื่อง./ชื่อการประชุม;/วัน เดือน ปีประชุม;/สถานที่จัดประชุม./เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์;/ปีที่พิมพ์./เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

 

  1. กรรณิการ์ ห้วยแสน, หนูเดือน สาระบุตร, พนอจิต นิติสุข, จิระพันธ์ ห้วยแสน, ชาญณรงค์ ชมนาวัง.

   การเติมพุทราผงในผลิตภัณฑ์เค้กเนย. ใน: รายงานการประชุม ประจำปี 2560, 7-8 มกราคม 2560

   มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่: หน้า 391-98.

  1. Passey M, Gale J, Stirling J, Sanson-Fisher R. Caring for pregnant Aboriginal women: provider

   views on managing tobacco, alcohol and cannabis use. In: 2017 Primary Health Care

   Research Conference, 2017 Aug 7-9; Brisbane.

  1. Rice AS, Farquhar-Smith WP, Bridges D, Brooks JW. Canabinoids and pain. In: Dostorovsky JO,

   Carr DB, Koltzenburg M, editors. Proceedings of the 10th World Congress on Pain; 2002

   Aug 17-22; San Diego, CA. Seattle (WA): IASP Press: 2003. p. 437-68.

 

                             4) วิทยานิพนธ์

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./ชื่อเรื่อง/(ประเภทปริญญา)./ภาควิชา,/คณะ./เมือง:/มหาวิทยาลัย;/ปีที่ได้ปริญญา.

  1. ธนพล วุฒิวัย. การศึกษาปริมาณสารอาหารโปรตีนชนิดอะมิโนโซ่กิ่งจากถั่วลันเตาเหลือง สกัดแบบไอโซเลท

   และข้าวเจ้า กข.1 สกัดแบบคอนเซนเทรต เปรียบเทียบกับเวย์โปรตีนคอนเซนเทรตจากนม (วิทยานิพนธ์

   ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ. เชียงราย:

   มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2559.

  1. Wongsuwan J. Improvement of tea extractor and preliminary study of tea powder processing

   (Master of Engineering). Thonburi: King Mongkut’s University of Technology Thonburi; 2008.

  1. Mason Y. Evaluation of benzobicyclon for use in midsouthern rice (Oryza sativa) systems

   (Master of Science in Crop, Soil, and Environmental Science). Fayetteville:  University of

   Arkansas; 2014.

  1. Evans PR. Motor and sensory function of the upper digestive tract in health and in irritable

   bowel syndrome [Ph.D Thesis]. Sydney, NSW: University of Sydney; 1998.

                             5) สิ่งพิมพ์อื่น ๆ

                                ก) บทความในหนังสือพิมพ์ (Newspaper article)

          ลำดับที่./ชื่อผู้เขียน./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์ วัน เดือน ปีที่พิมพ์;/ส่วนที่:/เลขหน้า/(เลขคอลัมน์).

 

  1. Beale, B. Our apocalypse now. Biodiversity and the threat to it from environmental

   destruction. Sydney Morning Herald 1989 Jul 15; 71: 6.

  1. Tynan T. Medical improvements lower homicide rate: study sees drop in assault rate.

    The Washington Post. 2002 Aug 12;Sect. A:2 (col. 4).

 

                                ข) สิทธิบัตร

          ลำดับที่./ชื่อผู้ประดิษฐ์,/ผู้ประดิษฐ์;/ชื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรม/ผู้ขอรับสิทธิบัตร./ชื่อสิ่งประดิษฐ์./ประทศที่ออกสิทธิบัตร/สิทธิบัตร รหัสประเทศ/หมายเลขสิทธิบัตร./ปี เดือน วันที่จดสิทธิบัตร.

          (ในกรณีภาษาไทยให้ใส่วันเดือนปีที่จดสิทธิบุตร)

  1. Pagedas AC, inventor; Ancel Surgical R&D Inc., assignee. Flexible endoscopic grasping and

   cutting device and positioning tool assembly. United States patent US 20020103498. 2002 Aug 1.

 

                                ค) พจนานุกรม/สารานุกรม (Dictionaries / Encyclopaedias)

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์หรือบรรณาธิการ./ชื่อพจนานุกรม./ครั้งที่พิมพ์./เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์./ปีที่พิมพ์./คำศัพท์;/หน้า./p./เลขหน้าที่ปรากฏคำศัพท์.

 

  1. Stedman TL. Stedman’s medical dictionary. 28th ed. Philadelphia: Lippincott Williams &

   Wilkins; Apraxia; p.119‐20.

  1. Dorland’s illustrated medical dictionary. 30th ed. Philadelphia: Saunders; 2003.

    Encephalomalacia; p. 609.

 

                             ง) DVD / CD-ROM

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./หัวข้อ/[รูปแบบ]./หมายเลขรุ่น (ถ้ามี)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์;/ปีที่พิมพ์./รายละเอียดของสินค้า/(ลำดับของสินค้า);/สี, ขนาด.

  1. Lennon RL, Horlocker TT. Mayo Clinic procedural training manual: peripheral nerve blockade

   for major lower extremity orthopedic surgery [CD-ROM]. Rochester (MN): Mayo

   Foundation for Medical Education & Research; 2006. 1 CD-ROM: sound, colour, 4 3/4 in.

 

                             จ) web based/ online databases

          ลำดับที่./ชื่อผู้นิพนธ์./ชื่อเรื่อง/[internet]./สถานที่พิมพ์ (ถ้ามี):/ชื่อผู้จัดพิมพ์ (ถ้ามี);/ปีที่ค้นข้อมูล/[วันที่ปรับปรุงข้อมูล (ถ้ามี);/;วัน เดือน ปีที่ค้นข้อมูล]./แหล่งข้อมูล:/URL

 

  1. Diabetes Australia. Gestational diabetes [Internet]. Canberra (ACT): Diabetes Australia; 2015

   [updated 2015; cited 2017 Nov 23]. Available from:

   https://www.diabetesaustralia.com.au/gestational-diabetes

  1. Queensland University of Technology. Writing literature reviews. [Internet] 2010 [updated

   2020 Jun 23; cited 2020 Dec 6]; Available from: 

   http://www.citewrite.qut.edu.au/write/litreviews.jsp.