043-602-041

เลขที่ 13 หมู่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 46230

การเขียนรายการอ้างอิง

การเขียนรายการอ้างอิง  (Reference Writing)

เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์จากอินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ในการเขียนเอกสารอ้างอิงใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามรูปแบบของ The American Psychological Association (APA, 6th Edition) โดยเนื้อหาเอกสารอ้างอิงแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

การอ้างอิงในเนื้อหา

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยพิมพ์ต่อท้าย ปีพิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา มี 4 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การอ้างอิงในเนื้อหา ไว้หน้าข้อความที่อ้างอิง แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

1) กรณีอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย ชื่อ/นามสกุลผู้แต่ง,/(ปีพิมพ์,/หน้า/ระบุเลขหน้า)

2) กรณีอ้างอิงที่เป็นภาษาต่างประเทศ Surname/(Date,/pp.)

ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหา ไว้หน้าข้อความที่อ้างอิง  

            สำหรับผู้แต่ง 1 คน เช่น

                        ปิยนันท์ ชมนาวัง (2559, หน้า 49)

                        นันทนา ศิริชาติ (2563, หน้า 200-205)

                        Murphy (2021, p. 85)

            สำหรับผู้แต่ง 2 คน เช่น

                        ชลลดา มงคลวนิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ (2557, หน้า 43)

                        McCartney and Phillips (2020, pp. 498-499)

            สำหรับผู้แต่ง 3-6 คน เช่น

                        การอ้างอิงครั้งแรก

สุวารี เจริญมุขยนันท์, ถาวร สกุลพาณิชย์, พัชนี ธรรมวันนา, อนุชิต สว่างแจ้ง และ

ณัฐธิดา สุขเรืองรอง (2556, หน้า 27-29)

                        Buonora, Chiavarini, Salmasi, Giaimo, and Minelli (2013)

            การอ้างอิงครั้งต่อมา

                        สุวารี เจริญมุขยนันท์ และคณะ (2556, หน้า 27-29)

                        Buonora et al. (2013)

            กรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์โดยลงปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บ

                        ปิยนันท์ ชมนาวัง (2559)

รูปแบบที่ 2 การอ้างอิงในเนื้อหา ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

1) กรณีอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย (ชื่อ/นามสกุลผู้แต่ง,/ปีพิมพ์,/หน้า/ระบุเลขหน้า)

2) กรณีอ้างอิงที่เป็นภาษาต่างประเทศ (Surname,/Date,/pp./page number)

ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหา ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง

สำหรับผู้แต่ง 1 คน เช่น

                        (ปิยนันท์ ชมนาวัง, 2559, หน้า 49)

                        (นันทนา ศิริชาติ, 2563, หน้า 200-205)

                        Murphy (2021, p. 85)

            สำหรับผู้แต่ง 2 คนเช่น

                        (ชลลดา มงคลวนิช และรัตนาภรณ์ ชาติวงศ์, 2557, หน้า 43)

                        (McCartney & Phillips, 2020, pp. 498-499)

            สำหรับผู้แต่ง 3-6 คน เช่น

                        การอ้างอิงครั้งแรก

(สุวารี เจริญมุขยนันท์, ถาวร สกุลพาณิชย์, พัชนี ธรรมวันนา, อนุชิต สว่างแจ้ง และ

ณัฐธิดา สุขเรืองรอง, 2556, หน้า 27-29)

                        (Buonora, Chiavarini, Salmasi, Giaimo, & Minelli, 2013)

            การอ้างอิงครั้งต่อมา

                        (สุวารี เจริญมุขยนันท์ และคณะ, 2556, หน้า 27-29)

                        (Buonora et al., 2013)

            กรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บเดียวกัน

                        (นันทนา ศิริชาติ, 2563)

รูปแบบที่ 3 การอ้างเอกสารมากกว่าหนึ่งเรื่องที่ผู้แต่งต่างกัน เรียงลำดับตามอักษรชื่อผู้แต่งคั่นด้วย

เครื่องหมายอัฒภาค ( ; ) กรณีที่งานทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศถูกอ้างพร้อมกัน ให้เริ่มที่งานเขียนภาษาไทยก่อน

            การอ้างอิงในเนื้อหา ไว้หน้าข้อความที่อ้างอิง

            Several studies (Miller, 1999; Shafranske & Mahoney, 1998)

การอ้างอิงในเนื้อหา ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง

            (พรทิพย์ พิมลสินธุ์, 2542; อำนวย วีรวรรณ, 2540)

            (อนุชาติ บุนนาค, 2549 หน้า 62-63; Campbell, 2006)

รูปแบบที่ 4 ในการอ้างเอกสารแทรกในเนื้อหาโดยที่ไม่ใช่เอกสารต้นฉบับ ให้ระบุชื่อเอกสารต้นฉบับและ ใช้คำว่า “อ้างถึงใน” สำหรับภาษาไทย หรือ “as cited in” สำหรับภาษาอังกฤษตามด้วยชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิและปีพิมพ์ สำหรับการลงรายการอ้างอิงท้ายเล่ม ลงชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิเท่านั้น ตัวอย่างเช่น

            การอ้างอิงในเนื้อหา ไว้หน้าข้อความที่อ้างอิง

Allport’s diary (as cited in Nicholson, 2003)

Bennett (2000 as cited in Stone, 2013)

Bazzano (2011 อ้างถึงใน วิโรจน์ สารรัตนะ, 2556, หน้า 47)

การอ้างอิงในเนื้อหา ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง

            (กาญจนา แก้วเทพ, 2538, หน้า 126, อ้างถึงใน เกศินี จุฑาวิจิตร, 2540, หน้า 88)

            (Bennett, 2000 as cited in Stone, 2013)

การอ้างอิงท้ายบทความ

          การเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA, 6th Edition ตัวอย่างเช่น

หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี))./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

พรจันทร์ สุวรรณชาติ. (2539). มาตรฐานการพยาบาลเชิงโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: เจ.เอส.การพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). ศัพท์นิติศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 7 แก้ไขเพิ่มเติม).

กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

Dye, T. R., & Dyer, C. S. (1966). Politics, economics, and the public: Policy outcomes in

The American states. Chicago: Rand McNally.

หนังสือแปล

ชื่อนามสกุลผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(ชื่อผู้แปล, แปล))./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

ทาคาชิ, ไซโต. (2555). ทำงานสำเร็จได้ภายใน 1 นาที (วีณา หวัง, แปล). กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์บุ๊คส์

Kiyosaki, R. T., & Lechter, S. L. (2010). Fu ba ba xiong ba ba [Rich dad, poor dad] (L.

Qinggi, & S. L. Zhu, Trans.). Hai Kou: Nan Hai Chu Ban She.

วารสาร/บทความ

ชื่อนามสกุลผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่พิมพ์หรือเล่มที่(ฉบับที่(ถ้ามี)),/เลข

หน้า./doi(ถ้ามี)

รัตนา จันทร์เทาว์. (2553). อุปลักษณ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำของคนขอนแก่น. วารสารคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 27(3), 71–85.

นวพล นนทภา, และ รามนรี นนทภา. (2561). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิด

เมเยอร์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1),

258–265.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอน

แบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 285–298. https://doi.org/10.14456/rhpc9j.2020.18

Wenden, A. L. (2002). Learner development in language learning. Applied

linguistics23(1), 32-    55.

Yonwilad, W., & Sinlapaninman, U. (2022). Blended Learning and Creativity-Based

Learning for Promoting Mathematics Achievement and Information Technology

Performance. Journal of Educational Issues, 8(1), 535–545. https://doi.org/10.5296/jei.v8i1.19847

วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์

ชื่อนามสกุลผู้เขียนวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์./(ปีที่พิมพ์).ชื่อวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์,/ชื่อสาขาวิชา,/คณะ,/ชื่อมหาวิทยาลัย.

อัญชนา เอี่ยมวสันต์. (2555). แนวทางการพัฒนาชุมชนวัดโคกท่าเจริญและสมาคมสว่างอุทยานธรรมสถาน(เซียนซือ) ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณธิดา ยลวิลาศ. (2564). การจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนด้วยแนวคิดการคิด

การเรียนรู้ของเครื่องจักร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา, วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิ่งพิมพ์จากอินเทอร์เน็ต

ชื่อนามสกุลผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ./สืบค้นเมื่อ/วัน/เดือน/ปี,/จาก http://www.xxx

สถาบันอุทยานการเรียนรู้. (2564).  ห้องสมุดทีเคพาร์ค. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564, จาก  https://www.tkpark.or.th/tha/library

การสัมภาษณ์

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์./(ปีสัมภาษณ์,/เดือน/วันที่)./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./สัมภาษณ์.

กตัญญู แก้วหานาม. (2564, มีนาคม 10). ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

  1. 8. รูปแบบการจัดพิมพ์ มีการกำหนดรูปแบบการพิมพ์

          1) บทความภาษาไทย ให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK

          2) บทความภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK

          3) การจัดพิมพ์ กำหนดระยะขอบกระดาษ ดังนี้

                   ด้านบน 1 นิ้ว    ด้านล่าง 1 นิ้ว

                   ด้านซ้าย 2 นิ้ว   ด้านขวา 1 นิ้ว